วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สอนทำสิ่งประดิษฐ์ที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย

ทำของเล่นง่ายๆ ลูกบอล กับถุงมือ

รูป 1 ทำของเล่นง่ายๆ ลูกบอล กับถุงมือ
ของเล่นสนุกๆ ทำง่ายๆ จากถุงมือและลูกบอล

อุปกรณ์

  • ถุงมือ
  • ลูกบอลพลาสติก
  • เทปกาวหนามเตยหรือตีนตุ๊กแก
  • กาว

วิธีทำ

  1. ติดแถบตีนตุ๊กแกหรือเทปกาวหนามเตย ลงบนผิวลูกบอล
  2. ติดกาวให้แน่น

วิธีเล่น

ใส่ถุงมือ คอยรับลูกบอลที่เพื่อน หรือ ฝ่ายตรงข้ามโยนให้

สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อของเด็กปฐมวัย


สื่อ หมายถึง ตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้หรือเป็นตัวกลางในการนำความต้องการจากผู้ส่งไปยังผู้รับเพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประเภทสื่อของเด็กปฐมวัย
        1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ
        2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
        3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ

การเลือกสื่อ มีวิธีการดังนี้
        1. เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมายและเรื่องที่สอน
        2. เลื่อกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก
        3. เลือกให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นที่เด็กอาศัยอยู่

การจัดหาสื่อ
        1. จัดหาโดยการของยืมจากแหล่งต่างๆ
        2. จัดซื้อสื่อ
        3. ผลิตขึ้นเอง

การใช้สื่อ
      ในการใช้สื่อการสอนทุกครั้ง ต้องมีการเตรียมความพร้องของสื่อก่อนที่จะนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนดังนี้คือ
         1. เตรียมครูผู้สอน
         2. เตรียมตัวเด็ก
         3. เตรียมสื่อ

การนำเสนอสื่อ
         1. เร้าความสนใจเด็กด้วยคำถามก่อน
         2. ใช้สื่อดำเนินกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนที่วางแผนไว้
         3. ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อก่อน เพราะอาจทำให้เด็กหมดความสนใจ

การดูแล การเก็บรักษาสื่อ
         1. เก็บให้เป็นระเบียบตามประเภทของสื่อ
         2. วางสื่อไว้ในระดับสายตาเด็ก เพื่อที่เด็กสามารถหยิบใช้ง่าย
         3. เก็บสื่อไว้ในภาชนะที่โปร่งใส เพื่อให้เด็กมองเห็นสื่งที่อยู่ข้างใน และควรมีขนาดพอเหมาะที่เด็กสามารถขนย้ายได้
         4. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพ สี สัญลักษณ์แทนหมวดหมู๋ ประเภท เพื่อให้เด็กสามารถเก็บได้อย่างถูกต้อง
         5. ตรวจสอบสภาพสื่อทุกครั้งหลังใช้เสร็จ
         6. ซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด และเติมส่วนที่ขาดหายไป

การประเมินสื่อ  พิจารณาจากองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ผู้สอน เด็ก และสื่อ ใช้วิธีการสังเกตดังนี้
         1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเรียนรู้มากเพียงใด
         2. เด็กชอบสื่อนั้นมากเพียงใด
         3. สื่อนั้นช่วยให้การสอนตรงกับจุดประสงค์มากหรือไม่ ถูกต้องตามสาระการเรียนรู้และทันสมัยหรือไม่
        4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียใด เพาระเหตุใด
กานพัฒนาสื่อ 
        1. ปรับปรุงสื่อให้ทันสมัยเข้ากับเหตุการ ใช้สะดวก ไม่ยุ่งยาก
        2. รักษาความสะอาดของสื่อ
        3. ถ้าเป็นสื่อที่ผลิตขึ้นเอง ควรมีคู่มือประกอบการใช้สือด้วย
        4. พัฒนาสื่อให้สามารถช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและเป็นของเล่นได้ด้วย


สื่อที่ผลิตขึ้นเองจ๊ะ








ศิลปะสำหรับเด็ก

ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาการทางศิลปะ
พีรพงษ์ กุลพิศาล (2531: 29 – 32) ได้กล่าว ว่า พัฒนาการทางศิลปะเป็นกระบวนการแสดงออกทางศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะของเด็ก ซึ่งปรากฏอยู่ในวัยจากวัยหนึ่งสู่อีกวัยหนึ่งอย่างต่อเนื่องและพัฒนาการดัง กล่าวจะดำเนินไปอย่างช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับพื้นฐานความเข้าใจและความสามารถ ทางศิลปะ ประกอบกับสิ่งแวดล้อมและแรงจูงใจของแต่ละคน ดังจะเห็นได้จากพัฒนาการทางศิลปะของเด็กนั้น จะเริ่มต้นจากการเขียนภาพเป็นเส้นขยุกขยิก จนสามารถลากเส้นตรงได้ เพราะกล้ามเนื้อแขนและมือได้รับการควบคุมดีขึ้นศรีเรือน แก้วกังวาน (2540: 232) ได้ กล่าวถึงพัฒนาการทางศิลปะ เป็นพัฒนาการควบคู่ทั้งด้านความคิดและทักษะ พัฒนาการทางศิลปะของเด็ก มีความพิเศษกว่าของผู้ใหญ่ในเรื่องความสามารถทางกายด้านประสาทสัมผัสและการ เคลื่อนไหว รวมทั้งความสามารถด้านสมองเชิงสร้างสรรค์ และแสดงออกทางจินตนาการ ซึ่งมีค่าต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจและความคิดเชิงบวก                                   เคลล็อก (หรรษา นิลวิเชียร. 2535:183 ;อ้างอิงจาก Kellogg. 1967)ได้ ศึกษางานขีดๆ เขียนๆ ของเด็กและให้ความเห็นว่า เด็กๆ ทั่วโลกมีขบวนการในการพัฒนางานศิลปะเป็นขั้นตอนที่เหมือนๆ กัน วงจรของการพัฒนาจะเริ่มจากอายุ 2 ขวบหรือก่อน 2 ขวบเล็กน้อย จนถึงอายุ 4 – 5 ขวบ และได้จำแนกออกเป็น 4 ขั้นตอน ทำให้เราเข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆ ทางศิลปะที่มีต่อกพัฒนาการในชีวิตของเด็กไว้ดังนี้
ขั้นที่ขีดเขี่ย ขั้นขีดเขี่ย (Placement stage) เป็นขั้นการทดลองให้เด็ก อายุ 2 ขวบ หรือ3 ขวบ ขีดๆ เขียนๆ ตามธรรมชาติของเด็ก ซึ่งมักจะขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้างโค้งบ้างลงบนกระดาษที่พื้นผิวของวัสดุ อื่นๆ โดยปราศจากการควบคุมเด็กๆ จะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตน โลกของเขานั้นมีการขีดๆ เขียนๆ นับเป็นพื้นฐานการพัฒนาตนเองของเด็ก งานศิลปะของเด็กเป็นการแสดงความคิด ความรู้สึกอันเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาของชีวิต ในความหมายนี้ คือ งานศิลป์ โดยการขีดๆเขียนๆ จะเป็นการแสดงออกของเด็กแต่ละอันเป็นเอกลักษณ์ของเขาเองการศึกษาถึงรูปแบบ ต่าง ๆ ของการวางตำแหน่งของภาพของเด็ก ยกตัวอย่างเช่น เด็กอาจจะขีดเขียนลงกระดาษด้านซ้าย ด้านขวา หรือตรงกลางของกระดาษ เคลล็อกได้จำแนกตำแหน่งของการขีดๆ เขียนๆ ของเด็กออกเป็น 17 ตำแหน่ง และยังได้รับการยืนยันจากนักค้นคว้าอื่นๆ ว่าเด็กจะใช้รูปแบบของการวางตำแหน่งเหล่านี้ในการฝึกฝนในขั้นแรก ในแต่ละรูปแบบก็จะพบในแต่ละขั้นของการพัฒนาของเด็ก เมื่อเด็กพบวิธีการขีดๆ เขียนๆเด็กก็จะพัฒนาตำแหน่งของภาพด้วยซึ่งก็กลายเป็นส่วนหนึ่งที่สะสมอยู่ ตัวเด็กตลอดเวลาของการพัฒนาด้านศิลปะจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่


ขั้นที่ 2 - ขีดเขียนเป็นรูปร่าง ขั้นขีดเขียนเป็นรูปร่าง (Shape stage) การทดลองนี้ทำกับเด็กอายุ 3 หรือ4 ขวบ ซึ่งจะพบว่าการขีดๆ เขียนๆ ของเขาเริ่มจะมีรูปร่างขึ้นหลังจาก Placemen stage ไม่นาน เด็กอายุ 3 หรือ 4 ขวบ เริ่มจะขีดๆ เขียนๆเป็นรูปร่างขึ้นถ้าสังเกตอย่างใกล้ชิดจะพบว่าเด็กจะค่อยๆ เปลี่ยนจากการขีดเขียนเป็นเส้นๆ ไปเป็นแบบที่เป็นรูปเป็นร่าง โดยขั้นแรกเด็กจะขีดๆ เขียนๆ โดยลากเส้นไปมาหลายครั้งด้วย สีเทียน ดินสอหรือพู่กัน รูปร่างของภาพจะมีความหมาย และค่อยๆ ชัดเจนขึ้น แต่ไม่มีเส้นขอบเขตที่ชัดเจนหลังจากนั้นเด็กจะค่อยๆ ค้นพบรูปร่างต่างๆ ในขณะเดียวกันเส้นที่แสดงขอบเขตของรูปร่างก็ชัดเจนขึ้นเด็กจะวาดรูปร่างที่ คุ้นเคยได้ เช่น วงกลม วงรี สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยมและรูปกากบาท ฯลฯ รูปแต่ละรูปเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการฝึกฝน การขีดๆ เขียนๆ ตลอดเวลา
ขั้นที่รู้จักออกแบบ (Design stage) ขั้นนี้เด็กเริ่มมีความสามารถรวมการขีดๆเขียนๆ ที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นรูปโครงสร้างหรือเค้าโครงในช่วงนี้เด็กเริ่มจะนำรูปร่างต่าง ๆ มารวมกันเป็นโครงสร้างที่คุ้นเคย เช่น การนำเอากากบาทใส่ลงในสี่เหลี่ยมผืนผ้า (รูปที่ 1 ) หรือรูปวงกลมเล็กใส่ลงในวงกลมใหญ่ (รูปที่ 2)  รูปที่ 1 รูปที่ 2เมื่อ เด็กนำเอารูปร่างต่างๆมารวมกัน เช่นนี้ก็แสดงว่าเด็กเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนที่เรียกว่าขั้นรู้จักออกแบบ เด็กเรียนรู้ว่ารูปร่างต่างๆ เหล่านั้น สามารถขยับตำแหน่งได้ เช่น วางติดกัน วางใกล้ๆ กันหรือวางห่างๆ กัน หรือนำรูป 2 หรือ 3 หรือ มากกว่ามารวมกันเป็นแบบ นอกจากนี้เด็กยังสามารถรวมวัตถุรูปทรงต่างๆ เข้าด้วยกันมีความสามารถและรู้ว่าวัตถุต่างๆ มีสี รูปร่าง น้ำหนัก คุณภาพ และมีชื่อเรียก การที่เด็กเอากากบาทใส่ลงในสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือเอาวงกลมเล็กใส่ลงในวงกลม ใหญ่ เด็กจะได้เพิ่มประสบการณ์ในการเห็น และเพิ่มความมีไหวพริบขึ้น
ขั้นที่ 4 การวาดแสดงเป็นภาพ ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ (Pictorial stage) ขั้นนี้เป็นขั้นขีดๆ เขียนๆ ของเด็กอายุ4 หรือ 5 ขวบ ซึ่งเริ่มจะแยกแยะวัตถุที่เหมือนกันตามมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้ขั้นนี้ เป็นขั้นต่อจากขั้นรู้จักออกแบบ (Design stage) เด็กอายุ 4 และ 5 ขวบ จะเริ่มเขียนรูปแบบที่ให้ภาพชัดเจนพอที่ผู้ใหญ่จะรู้ได้ ขั้นตอนนี้แสดงถึงความเป็นเด็กที่โตขึ้น และมีจินตนาการเด็กจะสามารถรวมขั้นตอนต่างๆ ที่ผ่านมาข้างต้นทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อมุ่งไปสู่งานที่เป็นจริง และเป็นการแสดงถึงงานศิลปะด้วยจากการเริ่มต้นวาดรูปวงกลม อาจจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบความสัมพันธ์ของศิลปะ ตัวอย่างเช่น การลากเส้นรัศมีออกจากจุดศูนย์กลาง หรือออกจากลงกลม ก็ดูเหมือนเป็นแสงอาทิตย์ที่ออกจากดวงอาทิตย์ (รูปที่ 5) หรือบางทีอาจจะดัดแปลงเป็นรูปตะขาบได้ (รูปที่ 6)รูปที่ 5 รูปที่ 6งาน ศิลป์โดยเฉพาะรูปนี้เป็นขบวนการของความคิดสร้างสรรค์อันมีเอกลักษณ์ของตัว มันเอง พระอาทิตย์ หรือตะขาบเกิดจากการรวมของเส้น และวงกลมทำให้เห็นรูปดังกล่าวมากกว่าจะเห็นเป็นวงกลม และเส้น เป็นความจริงที่ว่างานศิลป์ในแต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์กับภาพทั้งภาพเช่น เดียวกับมีความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆสรุป ได้ว่า พัฒนาการของเด็กปฐมวัย เป็นพัฒนาการที่มีลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคนซึ่งจะมีพัฒนาการแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น การอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม การส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้อง พร้อมทั้งการสนับสนุนด้านร่างกาย โดยเฉพาะในเรื่องการให้กำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาความคิดสร้าง สรรค์ของเด็กปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


ที่มา -http://put-pim.blogspot.com